วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

UNIT KEGIATAN MAHASISWA (UKM) DI UM













Kantin di UM


โรงอาหาร Universitas Negeri Malang

     สวัดดีค่ะ วันนี้ขอนำเสนอที่แปลกอีกที่หนึ่งแต่คงไม่แปลกสำหรับคนอื่น นั่นก็คือโรงอาหาร มาดูกันว่าโรงอาหารที่แปลกอย่างไรและแตกต่างจากบ้านเราอย่างไร 
     Universitas Negeri Malang ที่มีโรงอาหารหลายที่แต่ที่ที่ Want อยากนำเสนอคือ Home Cafe ที่นี่เป็นโรงอาหารอีกที่หนึ่งที่นักศึกษาชอบมากินกัน เพราะอยู่ใกล้กับที่เรียนและ ที่นี่มักจะเป็นที่กินข้าวของสาวๆชาวหอเพราะ มันอยู่ใกล้กับหอ บอกไว้ก่อนน่ะค่ะครั้งแรกที่มาเห็นแทบช็อกค้าาา โรงอาหารอะไรแค่นี้เล็กซะขนาดนี้ บังเอิญว่าชินกับโรงกิจ,โรง 4 และศูนย์อาหารกลางคืน ซึ่งที่นี่ไม่เหมือนบ้านเราตรงที่พวกเค้านั่งกินข้าวตากอากาศกันนิแหละ นั่งกินกันใต้ต้นไม้ (ม่ะกลัวต้นไม้หล่นทับคอกันบ้างอ่ะพวกเทอ) ชั้นล่ะกลัว จริง จิง จิงๆๆๆ


หน้าโรงอาหาร

      โรงอาหารที่นี่ก็เหมือนกับที่อื่น แต่ที่นี่อาหารอร่อยอยู่น่ะ แถมไม่แพงอีกด้วย อิ่มท้องแบบสบายกระเป๋าน่ะจ๊ะ  นี่เรามาดูเมนูอาหารกันดีกว่าว่ามีอะไรให้กินบ้าง  เมนูอาหารที่ส่วนใหญ่จะเป็นพวก Nasi Campur ,Lalapan ayam ,Soto และอื่นอีกมากมาย ส่วนเครื่องดื่มก็มีจำพวก Kopi,Teh,Jeruk panas และอื่นๆๆ อยากบอกว่าอาหารที่นี่ก็โอเคน่ะ อยากบอกว่าทุกเช้ามักจะฝากท้องที่นี่ ( ถ้าม่ะกินหิวแย่เรย....555555+) 


เมนูอาหาร@เมนูน้ำ

ข้าวแกงอินโดนีเซีย

Tempe

        เห้อ...เรามาดูบรรยากาศตอนกลางวันที่โรงอาหารว่าคึกคักแค่ไหน ตอนเช้าโรงอาหารไม่ค่อยมีคน แต่ตอนเที่ยงคนเยอะมาก แทบที่จะหาที่นั่งไม่ได้ แปลกน่ะเด็กอินโดนั่งกินข้าวที่ไหนก็ได้ ซึ่งจากจากพวกเรามากที่ต้องกินข้าวเป็นที่เป็นทาง บรรยากาศที่นี่ก็ประมาณนี้แหละ ม่ะรุจะบรรยายยังไง ต้องมาเห็นมาสัมผัสเองจร้าาา

ที่นั่งกินอาหารในร่ม
ที่นั่งกินอาหารกลางแจ้ง

โรงอาหารตอนไม่มีคน


        นี่คือภาพโรงอาหารตอนที่ไม่มีคน เหมือนบ้านร้าง บ้านผีสิงยังไงไม่รู้ ไม่เหมือนโรงอาหารเลย ว่าแต่ว่าโรงอาหารที่นี่โคตรเล็กเลยอ่ะ ไม่เหมือนที่มอเรากว้างมาก โรงอาหารมีพื้นที่ไว้ให้หมาวิ่งเล่นด้วย สบายมันล่ะหมามอเรามีพื้นที่ออกกำลังกายด้วย55555+




di HMJ.

DI HMJ
di HMJ เป็นบ้านของเด็กนักศึกษาที่อยู่สำนักวิชา ศิลปศาสตร์ ทั้งหมด เช่นในด้านของภาษารวมไปถึงด้านวาดรูปและออกแบบ ต่างๆ มีมากมายในด้านของน้ำใจและเป็นกันเอง ส่วนตัวผมนอนที่นี้เกือบทุกคืนคับและกินที่นี้เช่นกัน

นี้ก็คือรูปวาดภายในคับ ที่มาจากจินตนาการ ของเพื่อนๆที่นี้ ส่วนมากจะเป็นรูปผีคับ มีมากมายคับในบ้านหลังนี้คับ

นี้ก็คือห้องที่ผมและเพื่อนHMJ นอนกันในห้องนี้คับ ประมาณ 12 คนคับ ต่อหนึ่งคืน มีทั้งนอนและเล่นเกมปะปนกันไปคับส่วนมากจะเล่นเกมคับ เช่น ไฟ่ และเกมส์ คอมพิวเตอร์

นี้คือห้องของเด็กที่วาดรูปคับ ที่วาดรูปก็คือ เด็กที่เรียนทางด้าวออกแบบและวาดรูปเหมือนคับ มีถ้วยรางวัลมากมากในด้านวาดรูปคับ

อันนี้ภาพถ่ายที่ติดที่ฝาพนังคับ มีทั้งรูปคอนเสิร์ตต่าง และรูปทั่วไปคับ ปะปนกันไป พร้อมภาพวาดในด้ายจินตนาการคับ สวยคับ ต้องมาดูเองคับ เพื่อนๆที่นี้ต้องรับทุกคนคับ

นี้คือห้องที่เด็กเรียน ภาษาเยรมันคับ แต่ไม่ค่อยมีเด็กเยรมันมากนักในHMJ เพราะเรียนเยอะ คับบางครั้งผมนอนที่ห้องนี้คับ เพราะห้องที่ผมกล่าวข้างบนเต็ม ผมจะนอนห้องนี้คับ

เพื่อนๆ HMJ ยังมีอีกเยอะคับแต่วันนี้ที่ถ่ายรูปไปเรียนกันแล้วเลยได้เท่านี้เดี่ยวผมจะอับเพิ่มเติมคับหลังจากนี้คับและยังมีการสอนภาษาอินโดนีเซียให้ผมด้วย ผมจริงชอบที่อยู่กับเพื่อนๆกลุ่มนี้มาก ได้ทั้งเพื่อนและได้ความรู้ ที่ประเทศอินโดนีเซีย เมืองมาลังคับ

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

GRAHA CAKRAWALA

       มหาวิทยาลัยมาลัง ประเทศอินโดนีเซีย ถือได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งในด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เหมือนกับมาหาวิทยาลัยครู ซึ่งมหาวิทยาลัยแห่งนี้มีอยู่ 3 แห่ง 1. ตั้งอยู่ใน Klojen Malang  2.Sawojajar Malang 3. Kota Blitar. ซึ่งอาคาร Graha Cakrawala เป็นอาคารที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยที่ Klojen Malang เป็นอาคารสำหรับรับปริญญา และพิธีการต่างๆ ที่สำคัญ

       อาคารแห่งนี้สามารถรับคนเข้าได้ ประมาณ 2000 กว่าคน หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับพิธีการต่างๆ ที่จัดขึ้น และรูปแบบของการจัดงานด้วย อาคารนี้ สามารถใช้สำหรับงานการแสดงโชว์ เช่น Opera Van Java และสำหรับงานรับปริญญาที่มหาวิทยาลัยมาลังในหนึ่งปีการศึกษาแบ่งออกเป็นสองรอบการรับปริญญา ครั้งแรกจะจัดขึ้นในเดือนมีนาคม และครั้งที่สองเดือนกันยายน
       อาคารนี้ยังเป็นที่สำหรับจัดงาน Konser และพิธีสำหรับงานแต่งงานด้วยเช่นกัน และอาคารนี้ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และใกล้กับ Matos และใกล้กับหอพักนักศึกษาชาย ข้างหลังอาคารแห่งนี้เป็นสนามกีฬาฟุตบอล

       รูปแบบฃของอาคารนี้เป็นเสมือนโดมสนามกีฬา ซึ่งพื้้นที่ภายในเป็นที่นั่งเสมือนกับสนามกีฬา ซึ่งมีที่สำหรับเป็นเวทีอยู่ข้างหน้าแล้วคนนั่งอยู่ตรงหน้าเวที และมีห้องน้ำอยู่ภายในมากกว่า 10 ห้อง


       ภายใต้อาคารแห่งนี้สามารถจอดรถได้ มีที่สำหรับจอดรถจักรยานยนต์ และรถยนต์ ซึ่งที่สำหรับรถยนต์อยู่ทางทิศใต้ และที่สำหรับจอดรถจักรยานยนต์อยู่ทางทิศเหนือ



       บริเวณรอบข้างอาคารสามารถจอดรถได้ด้วยเช่นกัน ทั้งรถจักรยานยนต์ และรถยนต์


ANGONG รถม้า

ANGONG  รถม้า


                        ในวันนั้นฉันไปเที่ยวที่บาตู  กับเพื่อน และติวเตอร์  วันนั้นกะจะไปเที่ยวรอบๆ เมืองเเต่ฝนฟ้าไม่เป็นใจทำให้ไม่สามารถไปไหนได้   จึงได้เเค่ถ่ายรูปเล่นๆ กับเพื่อนๆ  และไปซื้อนมที่ร้านค้า ที่ซุปเปอร์มาเก็ต  นมที่นั้นอร่อยมาก  วันนั้นันซื้อนมช็อคโกเเล็ต  ขวด 25,000  รูเปียร์  ขวดใหญ่มาก   หลังจากนั้นเดิน  ไปเห็นรถม้า  เลยเดินไปถามเจ้าของรถม้า  ว่ารถม้าจะสามารถเช่าไปไหนได้บ้าง  เจ้าของบอกว่า  พาชมรอบเมืองBatu  แต่ รถม้าหนึ่งคันสามารถนั่งได้ 4 คน ราคา 20000 รูเปีย  นั่งเที่ยวรอบๆ BATU ค่ะ     ในบริเวรรอบๆ  จะมี  สนามเด็กเล่น  ห้องน้ำ มีรูปทรงเป็นสตอร์เบอรี่  แอปเปิ้ล  มีมัสยิส  ชิงช้า



รถม้า  ที่ BATU


ชิงช้า  นั่งดูวิวทิวทัศน์  ในเมือง
ในเเต่ล่ะวันในบริการ 3 รอบ คือ  
เวลา 11.00-12.00 
       14.30-15.00
       17.00-18.00


มัสยิส ข้างสวนสาธารณะบาตู  Alun- Alun Batu


น้ำพุที่มีผลแอปเปิ้ล

ห้องน้ำแอปเปิ้ล







ห้องสำนักงานสตอร์เบอรี่

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

วันขึ้นปีใหม่จีน เมืองมาลัง ประเทศอินโดนีเซีย : หมวดเรื่องที่น่าสนใจ.


ประมวลความประทับใจ

 รูปที่หนึ่ง วันนี้ เวลา 10.30 น. ตามเวลาประเทศไทย ผู้คนเมืองมาลัง จำนวนมาก ต่างเเห่มาชมการจัดงานวันขึ้นปีใหม่จีน บริเวณหน้ห้างสรรพสินค้ามาตอส สาขาเมืองมาลัง ประเทศอินโดนีเซีย


 รูปที่สอง แม้ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองมาลัง ประเทศอินโดนีเซีย จะปิดถนน เพื่อให้ขบวนพาเหรดของชนจีนเดินผ่าน เเต่ผู้คนในเมืองมาลังจำนวนมาก พยายามที่จะขับรถเข้ามา โดยที่ไม่สนใจ เพราะว่า ผู้คนเหล่านี้ อยากจะดูแบบชัดๆ


รูปที่สาม  วัฒนธรรมชนจีน และชนพื้นเมือง ที่สืบเชื้อสายจีน ในประเทศอินโดนีเซีย ได้มีความพยายามที่จะสืบสานวัฒนธรรม ที่สะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นชนจีน ปรากฏการณ์เหล่านี้มีความเหมือนกับประเทศไทย และกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย ที่ประกอบไปด้วยชนจีน


รูปที่สี่ การสวมเครื่องเเต่งกายนักรบเเบบชนจีน (เเบบจำลอง) เป็นการสะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ และการหวนหาความเป็นบรรพบุรุษชนจีน ประเทศอินโดนีเซีย ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากจีนเเผ่นดินใหญ่



รูปที่ห้า นอกจากการเเต่งกายเลียนเเบบบรรพชนจีนเเล้ว ยังมีการเเต่งกายชนจีนแบบประยุกต์ให้มีความเป็นสมัยใหม่ เพื่อที่จะให้ผู้คนรายลอบที่มาชมในวันนี้ สนใจความเป็นวัฒนธรรมชนจีน


รูปที่หก ผู้คนในเมืองมาลัง ที่ไม่ใช่ชนจีน มีความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะการพาลูกๆ และญาติ มาดูการจัดงานวันขึ้นปีใหม่ในวันนี้ อันเเสดงให้เห็นว่า ประเทศอินโดนีเซีย ได้ผ่านบททดสอบที่เกี่ยวกับความขัดเเย้ง หรืออาจจะพูดได้ว่า ผู้คนอินโดนีเซีย เริ่มมีความเข้าใจในความเป็นเอกภาพ ที่จะต้องอยู่ร่วมกันบนผืนเเผ่นดินนี้


รูปที่เจ็ด เจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองมาลังหลายคน ต้องทำหน้าที่ควบคุมความปลอดภัย และเคลียร์เส้นทาง เพื่อให้การจัดงานในวันนี้ ผ่านไปได้อย่างราบรื่น และไม่มีปัญหา



                                                                         รูปที่เเปด



                                                                         รูปที่เก้า


                                                                                                         
                                                                                                     รูปที่สิบ



ความเป็นมา

วันที่ 23 มกราคม พ..2555 เป็นวันขึ้นปีใหม่จีน ประเทศอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีประชากรเชื้อสายจีนกระจัดกระจายไปตามประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันมีการคาดการณ์กันว่า ประชากรชาวพื้นเมือง ที่สืบเชื้อสายจีนในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 78.98 ของพื้นที่ ที่มีการสำรวจในปี พ..2553-2554 โดยเฉพาะพื้นที่ กลุ่มตัวอย่าง สำหรับการสำรวจประชากรชาวจีนในประเทศอินโดนีเซีย ได้รับความสนใจอย่างมาก สำหรับช่วงตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา  ตั้งแต่ช่วงสมัยการประกาศเอกราชประเทศอินโดนีเซีย ถึงช่วงสมัยวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ปี พ..2539-2540 ประชากรชนพื้นเมือง ที่มีเชื้อสายชนจีน หรือประชากรจีน ล้วนเป็นเหยื่อ สำหรับผลประโยชน์ทางการเมือง เศรษฐกิจ ตลอดจนการกีดกั้นมิให้กลุ่มชนจีนในประเทศอินโดนีเซีย มีการจัดงานสำคัญ อาทิ งานขึ้นปีใหม่สำหรับชาวจีน ซึ่งปรากฏในช่วงสมัยประธานาธิบดีซูฮาโต ที่ขึ้นครองอำนาจ ภายหลังการปราบปราบกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย พร้อมกับกำหนดนโยบายเศรษฐกิจแบบใหม่ หรือที่เรียกกันภายหลังว่า ยุคระเบียบใหม่

ทำให้ช่วงประมาณปี พ..2517เมืองมาลัง ประเทศอินโดนีเซีย เป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการกำหนดนโยบายดังกล่าว โดยเฉพาะการกำหนดนโยบายให้กลุ่มชนจีน เปลี่ยนนามสกุลจาก แซ่ เป็น ซาลิม ซึ่งกลุ่มชนจีนที่เปลี่ยนจาก แซ่ เป็น ซาลิม มีการคาดการณ์กันว่า ในช่วงสมัยดังกล่าวนั้น กลุ่มชนจีนเหล่านี้ ต้องอยู่ภายใต้การควบคุม มิให้ประกอบกิจกรรมที่เกี่ยวกับความเป็นชนจีน เช่นเดียวกับสมัยการปกครองประธานาธิบดีซูการ์โน ที่เริ่มใช้นโยบายชาตินิยม อันส่งผลกระทบให้กลุ่มชนจีนเหล่านี้ ถูกมองว่าเป็น กลุ่มชายขอบ

แต่ช่วงปี พ..2538 ได้เกิดเหตุการณ์การประท้วงกลุ่มชนจีนในเมืองมาลัง ที่มีการรวมตัว เพื่อให้ประธานาธิบดีซูฮาโต บังคับใช้กฎหมายให้กลุ่มชนจีน สามารถประกอบกิจกรรม หรือศาสนกิจของชนจีน ให้เป็นไปในทิศทางที่อิสระมากขึ้น พร้อมกับเรียกร้องให้มีการร่างกฎหมายนี้ขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่เป็นผล สำหรับการเรียกร้องกลุ่มชนจีน

ส่งผลให้วันที่ 23 มกราคม ปี พ..2539 ไม่มีการจัดงานสำหรับวันขึ้นปีใหม่จีน เหมือนปัจจุบัน แต่กลุ่มชนจีน เมืองมาลัง ก็มีความพยายามที่จะจัดงานขึ้นปีใหม่จีน ที่บ้าน (ไม่เปิดเผย) ซึ่งรูปแบบการจัดงานขึ้นปีใหม่จีน ที่บ้านนั้น จะเป็นลักษณะการรวมญาติพี่น้อง หรืออย่างน้อยไปเที่ยวกันเป็นหมู่คณะ จวบจนปลายปี พ..2539 ความพยายาม ที่จะให้มีการจัดงานขึ้นปีใหม่จีน กลับได้รับความสนใจอีกครั้ง โดยพรรค PDI ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในเมืองมาลัง และมีส่วนผลักดันให้ความพยายามที่จะจัดงานขึ้นปีใหม่จีน มีความชัดเจน เริ่มตั้งแต่การจัดงานขึ้นปีใหม่จีน ที่ห้างสรรพสินค้าในเมืองมาลัง แต่การจัดงานดังกล่าวได้รับการคัดค้านจากประธานาธิบดีซูฮาโต ฉะนั้นการควบคุมนโยบายที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมชนจีน ในสมัยประธานาธิบดีซูฮาโต จึงไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากการตื่นตัว และการรวมกลุ่มชนจีนเมืองมาลัง ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน

จวบจนหลังปี พ..2540 หรือที่เรารู้จักกันภายหลังอย่างเป็นทางการว่า ยุคการปฏิรูปและการพัฒนา หลายคนวิจารณ์ว่า เป็นการสิ้นสุดอำนาจเผด็จการปกครองประธานาธิบดีซูฮาร์โต ที่ครองอำนาจยาวนานสามทศวรรษ โดยเฉพาะการผ่อนคลายนโยบายควบคุมวัฒนธรรมแบบเข้มข้น ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีซูฮาร์โต เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปในทิศทางที่ชนจีน หรือกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ในประเทศอินโดนีเซีย สามารถประกอบกิจกรรมกลุ่มชนได้อย่างอิสระ ทำให้ช่วงปี พ..2544-2545 วันขึ้นปีใหม่จีน กลายเป็นกระแสหนึ่ง ที่สามารถสร้างสีสันให้กับประเทศอินโดนีเซีย ตลอดจนเมืองมาลัง เริ่มมีการผสมผสานระหว่างชนพื้นเมืองและชนจีน ได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมในการแสดงออก สำหรับงานขึ้นปีใหม่จีน ปัจจุบันงานขึ้นปีใหม่จีน กลับไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องห้ามสำหรับเมืองมาลัง หรือเมืองอื่นๆ ในประเทศอินโดนีเซีย เพราะว่าห้างสรรพสินค้ามาตอส สาขาเมืองมาลัง มีความพยายามที่จะจัดงานขึ้นปีใหม่จีน ให้เป็นที่รู้จักสำหรับชาวต่างชาติ  หรืออย่างน้อยเป็นช่องทางสำหรับการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเมืองมาลัง โดยเฉพาะนโยบายการขายทางวัฒนธรรม อันเป็นยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวประเทศอินโดนีเซีย

บรรยากาศทั่วๆไป ในการจัดงานขึ้นปีใหม่จีน เมืองมาลัง ประเทศอินโดนีเซีย
                
               วันนี้ผมได้พยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบรรยากาศการจัดงานขึ้นปีใหม่จีน หน้าห้างสรรพสินค้ามาตอส สาขาเมืองมาลัง หรือบริเวณตรงข้ามหน้ามหาวิทยาลัย Negeri Malang. ซึ่งห่างไม่มากจากหอพัก ที่ผมนอน จริงๆแล้วผมเองไม่รู้หรอกว่า วันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่จีน สำหรับประเทศอินโดนีเซีย ตลอดจนที่น่าแปลกใจยิ่งกว่า หรืออาจไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับประเทศอินโดนีเซียมากนักคือ ประเทศอินโดนีเซียมีนโยบายให้วันขึ้นปีใหม่ จีน ชนพื้นเมือง หรือกลุ่มชนอื่น ล้วนเป็นส่วนหนึ่งสำหรับวันหยุดราชการ ที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ปี พ..2547 เป็นต้นมา
                
                อันที่จริงแล้วผมเองจะไปซื้ออาหารที่ห้างสรรพสินค้ามาตอส แต่ด้วยความที่คนเยอะ และมีการปิดถนนจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองมาลัง ทำให้ผมเองต้องยกเลิม ความพยายามที่จะไปซื้อข้าวที่มาตอส แต่ด้วยความที่ว่าผมเองจะต้องส่งข้อมูลในส่วนที่เหลือให้กับอาจารย์ที่ประเทศไทย หรือส่งข้อมูลผ่านบล็อกโปรแกรมอินคันทรี ผมเองอดใจไม่ไหวที่จะทำข้อมูลเหล่านี้ทันที
                
                ในระหว่างที่ผมเดินชมบรรยากาศ และถ่ายรูปอยู่นั้น ก็มีเสียงเชิดสิงโตจากคณะกายกรรมจีน และกลุ่มหนึ่ง ที่ผมเองเชื่อว่า น่าจะเป็นกลุ่มสมาคมชนจีน เมืองมาลัง ที่มีการรวมตัว ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับประเทศไทย โดยเฉพาะเวลาการจัดงานขึ้นปีใหม่จีน เมื่อขบวนสมาคมจีน ที่สวมเครื่องแต่งกายแบบจีน เดินผ่านนั้น ก็ได้รับความสนใจจากผู้ที่มาชม ทั้งชาวต่างชาติ และคนในเมืองมาลัง ที่แห่มานั่งดูตามขอบถนน จนประมาณได้ว่าไม่มีที่นั่งให้ผมพักเหนื่อย ผมเองต้องยืนถ่าย แต่อุปสรรคการถ่ายภาพคือ คนมากจนผมคิดว่า ภาพที่ผมถ่ายนั้น อาจไม่ชัดเจน และกล้องถ่ายรูปที่ผมถ่ายนั้น ผมเองก็ถ่ายมาจากโทรศัพท์มือถือ อันที่จริงแล้วผมเอง อยากกลับไปเอากล้องถ่ายรูป ที่หอพัก แต่บังเอิญคณะเชิดสิงโตผ่านมาพอดี ทำให้ผมเองตัดสินใจที่จะเก็บภาพเท่าที่จะทำได้


กิจกรรมสำหรับการจัดงานขึ้นปีใหม่จีน ณ.ห้างสรรพสินค้ามาตอส เมืองมาลัง ประเทศอินโดนีเซีย

การประกวดแฟชั่น การแต่งกายแบบจีน ซึ่งผมเองมาไม่ทัน เพราะว่าต้องไปกินข้าว

การร้องเพลง
อื่นๆ


วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

TAKSI

TAKSI



สวัสดีค่ะ วันนี้ก็จะมาพูดถึงเกี่ยวกับการคมนาคมกัน จะเห็นได้ว่า การคมนาคมขนส่งนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเดินทางไปไหนมาไหน เราจะมาพูดถึงการคมนาคมที่สะดวกสบายในการที่จะไปไหนมาไหนโดยแค่เพียงคุณบอกสถานที่ที่จะไป นั้นคือรถ Taksi นั้นเอง

                         ราคาเริ่มต้นของ taksi นี้ ก็เริ่มจาก 20,000 รูเปีย มิเตอร์ก็จะคิดตามระยะทางที่เราจะไป





เราสามารถเรียกใช้บริการนี้ได้ แค่คุณกดเบอร์เหล่านี้


แท็กซี่เบอร์โทรศัพท์
CITRA KENDEDES TAKSI (0341) 495101
ARGO TAKSI(0341) 490444
MANDALA TAKSI(0341) 474747
BIMA TAKSI(0341) 717171
จาก http://raurakmalang.blogspot.com/2009/03/blog-post_652.html

เราสามารถใช้บริการ taksi นี้ได้อย่างรวดเร็ว(ถ้าหากรถไม่ติด และเกิดมีอุบัติเหตุกลางถนน) และมีความเป็นส่วนตัว แบบเหมาจ่ายได้ถ้าหากไปกันหลายคน ก็เหมือนกับ แท็กซี่ในกรุงเทพนั้นและ เราก็ต้องระวังในความปลอดภัยและการถูกโกงเอาไว้ให้ดี
                    แต่ถ้าหากเป็นกฏของข้อจำกัดจำนวนคนในการขึ้นแท็กซี่นี้ ที่นี้ขึ้นได้ไม่เกิน 4 คน ต่อคัน แต่จากประสบการณ์ ในการขึ้นเราขึ้นมากกว่านั้น ฮ่าๆ
                    โดยรวมแล้ว การคมนาคมชนิดนี้ก็ไม่ต่างจากแท็กซี่บ้านเราเท่าไร สะดวกในการขึ้นสบายในการไปสถานที่ต่างๆ แต่หนักตรงกระเป๋าเราจะเบาเพราะเมื่อเทียบกับ การคมนาคมชนิดอื่นที่อยู่ในเมืองมาลังแล้ว ของบอกว่ามันแพงใช่ได้เลยทีเดียว ถ้าหากไม่อยากที่จะเสียเงิน เราต้องเดินกินลมชมวิว  ได้ออกทั้งกำลังแล้วได้ชมตัวเมืองไปในตัวด้วย ^^