วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

Melinjo หรือที่รู้จักกันว่า ผักเหลียง

      Melinjo แต่ถ้าภาษาชวาก็จะเรียกว่า Belinjo หรือที่รู้จักกันว่า ผักเหลียง

     เรามารู้จักผักชนิดนึงที่มีเหมือนกันกับประเทศไทย  ซึ่งผักชนิดนี้มีชื่อว่า Melinjo หรือว่าผักเหลียงบ้านเรานั้นเอง
   ผักเหลียงนั้นเป็นพืชยืนต้นที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ ๑-๒ เมตร มีใบเรียวยาว สามารถนำยอดของผักเหลียงมารับประทานได้ โดยนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัดผักเหลียงใส่ไข่ แกงเลียงผักเหลียงใส่กุ้ง หรือ นำมาต้มกะทิ ใช้รองห่อหมก ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานมากของชาวภาคใต้

ใบผักเหลียง
      แต่สิ่งที่แปลกใจกับผักเหลียงที่อินโดนีเซียนั้นก็คือ ทำไมคนที่นี่ถึงกินลูกของผักเหลียง แต่ใบนั้นกลับไม่กินซะงั้น  เพราะความสงสัยก็เลยถามว่าทำไม ซึ่งก็ได้คำตอบออกมาว่า คนอินโดนีเซียนั้นอะไรที่เป็นผลและสามารถกินได้ก็จะกินผลมัน  แต่ใบนั้นเป็นใบเหมือนใบไม้ธรรมดาจะไม่กินกัน ถึงแม้ใบจะอ่อนก็ตาม (แต่ตามหลักความเป็นจริงแล้ว ก็น่าจะมีคนกินด้วยนั้นแหละ จากความรู้สึก และจากสิ่งที่เห็น  เพราะที่ต้นผักเหลียงนั้นใบอ่อนจะหายไปด้วย 555+)จะจับผิดคนอินโดนีเซียหรือเรา...




ต้นผักเหลียง สูงๆเลยหล่ะ ต้นเตี้ยๆก็มีเยอะ




เก็บกันมาสดๆเลย อิอิ


       ผักเหลียงผัดกับไข่ อร่อยไม่ช่ายย่อยเลยเชียวหล่ะ  ด้วยความอยากกิน หรือว่าคิดถึงอาหารไทย  ก็เลยเก็บผักเหลียงมาผัดกินกัน (ในมหาลัยหาได้ง่ายมาก อิอิ)
          
ผักเหลียงผัดไข่
          
  คุณค่าทางโภชนาการของผักเหลียง ผักเหลียงอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนที่ต้องถือว่าเป็นสารต้านออกซิเดชั่นที่สำคัญ ทั้งยังเป็นสารตั้งต้นสร้างวิตามินเออีกด้วย มีข้อมูลออกมาจากภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่า ผักเหลียงร้อยกรัมหรือหนึ่งขีดไม่รวมก้านให้เบต้าแคโรทีน สูงถึง 1,089 ไมโครกรัมหน่วยเรตินัล สูงกว่าผักบุ้งจีนสามเท่ามากกว่าผักบุ้งไทย 5-10 เท่า ผักเหลียงมีเบต้าแคโรทีนมากกว่าใบตำลึงเสียด้วยซ้ำผักที่ถือว่า เป็นสุดยอดของแหล่งเบต้าแคโรทีนคือแครอท ก็ไม่ได้มีเบต้าแคโรทีนมากไปกว่าผักเหลียงเลย เบต้าแคโรทีนเป็นสารสีส้ม แต่กลับมองไม่เห็นสีส้มในผักเหลียงก็เพราะมันถูกสีเขียว ของใบผักปกปิดไว้จนหมด กินผักเหลียงจึงให้ทั้งคุณค่าของเบต้าแคโรทีนและสารพฤกษเคมีจากผักใบ และผักเหลียงยังให้คุณค่าของแคลเซียมและฟอสฟอรัสช่วยบำรุงกระดูก อีกด้วย (ข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/uthai/2010/02/25/entry-2)

อร่อยได้ใจ อ่านะ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น