ประมวลความประทับใจ
รูปที่สอง แม้ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองมาลัง ประเทศอินโดนีเซีย จะปิดถนน เพื่อให้ขบวนพาเหรดของชนจีนเดินผ่าน เเต่ผู้คนในเมืองมาลังจำนวนมาก พยายามที่จะขับรถเข้ามา โดยที่ไม่สนใจ เพราะว่า ผู้คนเหล่านี้ อยากจะดูแบบชัดๆ
รูปที่สาม วัฒนธรรมชนจีน และชนพื้นเมือง ที่สืบเชื้อสายจีน ในประเทศอินโดนีเซีย ได้มีความพยายามที่จะสืบสานวัฒนธรรม ที่สะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นชนจีน ปรากฏการณ์เหล่านี้มีความเหมือนกับประเทศไทย และกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย ที่ประกอบไปด้วยชนจีน
รูปที่สี่ การสวมเครื่องเเต่งกายนักรบเเบบชนจีน (เเบบจำลอง) เป็นการสะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ และการหวนหาความเป็นบรรพบุรุษชนจีน ประเทศอินโดนีเซีย ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากจีนเเผ่นดินใหญ่
รูปที่ห้า นอกจากการเเต่งกายเลียนเเบบบรรพชนจีนเเล้ว ยังมีการเเต่งกายชนจีนแบบประยุกต์ให้มีความเป็นสมัยใหม่ เพื่อที่จะให้ผู้คนรายลอบที่มาชมในวันนี้ สนใจความเป็นวัฒนธรรมชนจีน
รูปที่หก ผู้คนในเมืองมาลัง ที่ไม่ใช่ชนจีน มีความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะการพาลูกๆ และญาติ มาดูการจัดงานวันขึ้นปีใหม่ในวันนี้ อันเเสดงให้เห็นว่า ประเทศอินโดนีเซีย ได้ผ่านบททดสอบที่เกี่ยวกับความขัดเเย้ง หรืออาจจะพูดได้ว่า ผู้คนอินโดนีเซีย เริ่มมีความเข้าใจในความเป็นเอกภาพ ที่จะต้องอยู่ร่วมกันบนผืนเเผ่นดินนี้
รูปที่เจ็ด เจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองมาลังหลายคน ต้องทำหน้าที่ควบคุมความปลอดภัย และเคลียร์เส้นทาง เพื่อให้การจัดงานในวันนี้ ผ่านไปได้อย่างราบรื่น และไม่มีปัญหา
รูปที่เเปด
รูปที่เก้า
รูปที่สิบ
ความเป็นมา
วันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2555 เป็นวันขึ้นปีใหม่จีน ประเทศอินโดนีเซีย
เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีประชากรเชื้อสายจีนกระจัดกระจายไปตามประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปัจจุบันมีการคาดการณ์กันว่า ประชากรชาวพื้นเมือง ที่สืบเชื้อสายจีนในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 78.98 ของพื้นที่ ที่มีการสำรวจในปี พ.ศ.2553-2554
โดยเฉพาะพื้นที่
กลุ่มตัวอย่าง สำหรับการสำรวจประชากรชาวจีนในประเทศอินโดนีเซีย ได้รับความสนใจอย่างมาก
สำหรับช่วงตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา ตั้งแต่ช่วงสมัยการประกาศเอกราชประเทศอินโดนีเซีย
ถึงช่วงสมัยวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ปี พ.ศ.2539-2540 ประชากรชนพื้นเมือง
ที่มีเชื้อสายชนจีน หรือประชากรจีน ล้วนเป็นเหยื่อ สำหรับผลประโยชน์ทางการเมือง
เศรษฐกิจ ตลอดจนการกีดกั้นมิให้กลุ่มชนจีนในประเทศอินโดนีเซีย มีการจัดงานสำคัญ
อาทิ งานขึ้นปีใหม่สำหรับชาวจีน ซึ่งปรากฏในช่วงสมัยประธานาธิบดีซูฮาโต
ที่ขึ้นครองอำนาจ ภายหลังการปราบปราบกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย
พร้อมกับกำหนดนโยบายเศรษฐกิจแบบใหม่ หรือที่เรียกกันภายหลังว่า ยุคระเบียบใหม่
ทำให้ช่วงประมาณปี พ.ศ.2517เมืองมาลัง ประเทศอินโดนีเซีย
เป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการกำหนดนโยบายดังกล่าว โดยเฉพาะการกำหนดนโยบายให้กลุ่มชนจีน
เปลี่ยนนามสกุลจาก แซ่ เป็น ซาลิม ซึ่งกลุ่มชนจีนที่เปลี่ยนจาก แซ่ เป็น ซาลิม
มีการคาดการณ์กันว่า ในช่วงสมัยดังกล่าวนั้น กลุ่มชนจีนเหล่านี้
ต้องอยู่ภายใต้การควบคุม มิให้ประกอบกิจกรรมที่เกี่ยวกับความเป็นชนจีน
เช่นเดียวกับสมัยการปกครองประธานาธิบดีซูการ์โน ที่เริ่มใช้นโยบายชาตินิยม
อันส่งผลกระทบให้กลุ่มชนจีนเหล่านี้ ถูกมองว่าเป็น กลุ่มชายขอบ
แต่ช่วงปี พ.ศ.2538 ได้เกิดเหตุการณ์การประท้วงกลุ่มชนจีนในเมืองมาลัง
ที่มีการรวมตัว เพื่อให้ประธานาธิบดีซูฮาโต บังคับใช้กฎหมายให้กลุ่มชนจีน สามารถประกอบกิจกรรม
หรือศาสนกิจของชนจีน ให้เป็นไปในทิศทางที่อิสระมากขึ้น
พร้อมกับเรียกร้องให้มีการร่างกฎหมายนี้ขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่เป็นผล
สำหรับการเรียกร้องกลุ่มชนจีน
ส่งผลให้วันที่ 23 มกราคม ปี พ.ศ.2539
ไม่มีการจัดงานสำหรับวันขึ้นปีใหม่จีน
เหมือนปัจจุบัน แต่กลุ่มชนจีน เมืองมาลัง ก็มีความพยายามที่จะจัดงานขึ้นปีใหม่จีน
ที่บ้าน (ไม่เปิดเผย) ซึ่งรูปแบบการจัดงานขึ้นปีใหม่จีน ที่บ้านนั้น
จะเป็นลักษณะการรวมญาติพี่น้อง หรืออย่างน้อยไปเที่ยวกันเป็นหมู่คณะ จวบจนปลายปี พ.ศ.2539
ความพยายาม
ที่จะให้มีการจัดงานขึ้นปีใหม่จีน กลับได้รับความสนใจอีกครั้ง โดยพรรค PDI ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในเมืองมาลัง
และมีส่วนผลักดันให้ความพยายามที่จะจัดงานขึ้นปีใหม่จีน มีความชัดเจน เริ่มตั้งแต่การจัดงานขึ้นปีใหม่จีน
ที่ห้างสรรพสินค้าในเมืองมาลัง แต่การจัดงานดังกล่าวได้รับการคัดค้านจากประธานาธิบดีซูฮาโต
ฉะนั้นการควบคุมนโยบายที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมชนจีน ในสมัยประธานาธิบดีซูฮาโต
จึงไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากการตื่นตัว และการรวมกลุ่มชนจีนเมืองมาลัง
ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน
จวบจนหลังปี พ.ศ.2540 หรือที่เรารู้จักกันภายหลังอย่างเป็นทางการว่า
ยุคการปฏิรูปและการพัฒนา หลายคนวิจารณ์ว่า เป็นการสิ้นสุดอำนาจเผด็จการปกครองประธานาธิบดีซูฮาร์โต
ที่ครองอำนาจยาวนานสามทศวรรษ โดยเฉพาะการผ่อนคลายนโยบายควบคุมวัฒนธรรมแบบเข้มข้น
ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีซูฮาร์โต
เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปในทิศทางที่ชนจีน หรือกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ในประเทศอินโดนีเซีย
สามารถประกอบกิจกรรมกลุ่มชนได้อย่างอิสระ ทำให้ช่วงปี พ.ศ.2544-2545
วันขึ้นปีใหม่จีน
กลายเป็นกระแสหนึ่ง ที่สามารถสร้างสีสันให้กับประเทศอินโดนีเซีย ตลอดจนเมืองมาลัง
เริ่มมีการผสมผสานระหว่างชนพื้นเมืองและชนจีน ได้อย่างอิสระ
ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมในการแสดงออก สำหรับงานขึ้นปีใหม่จีน ปัจจุบันงานขึ้นปีใหม่จีน
กลับไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องห้ามสำหรับเมืองมาลัง หรือเมืองอื่นๆ
ในประเทศอินโดนีเซีย เพราะว่าห้างสรรพสินค้ามาตอส สาขาเมืองมาลัง มีความพยายามที่จะจัดงานขึ้นปีใหม่จีน
ให้เป็นที่รู้จักสำหรับชาวต่างชาติ หรืออย่างน้อยเป็นช่องทางสำหรับการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเมืองมาลัง
โดยเฉพาะนโยบายการขายทางวัฒนธรรม อันเป็นยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวประเทศอินโดนีเซีย
บรรยากาศทั่วๆไป ในการจัดงานขึ้นปีใหม่จีน เมืองมาลัง
ประเทศอินโดนีเซีย
วันนี้ผมได้พยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบรรยากาศการจัดงานขึ้นปีใหม่จีน
หน้าห้างสรรพสินค้ามาตอส สาขาเมืองมาลัง หรือบริเวณตรงข้ามหน้ามหาวิทยาลัย Negeri
Malang. ซึ่งห่างไม่มากจากหอพัก ที่ผมนอน จริงๆแล้วผมเองไม่รู้หรอกว่า
วันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่จีน สำหรับประเทศอินโดนีเซีย ตลอดจนที่น่าแปลกใจยิ่งกว่า
หรืออาจไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับประเทศอินโดนีเซียมากนักคือ
ประเทศอินโดนีเซียมีนโยบายให้วันขึ้นปีใหม่ จีน ชนพื้นเมือง หรือกลุ่มชนอื่น
ล้วนเป็นส่วนหนึ่งสำหรับวันหยุดราชการ ที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547
เป็นต้นมา
อันที่จริงแล้วผมเองจะไปซื้ออาหารที่ห้างสรรพสินค้ามาตอส
แต่ด้วยความที่คนเยอะ และมีการปิดถนนจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองมาลัง
ทำให้ผมเองต้องยกเลิม ความพยายามที่จะไปซื้อข้าวที่มาตอส แต่ด้วยความที่ว่าผมเองจะต้องส่งข้อมูลในส่วนที่เหลือให้กับอาจารย์ที่ประเทศไทย
หรือส่งข้อมูลผ่านบล็อกโปรแกรมอินคันทรี
ผมเองอดใจไม่ไหวที่จะทำข้อมูลเหล่านี้ทันที
ในระหว่างที่ผมเดินชมบรรยากาศ
และถ่ายรูปอยู่นั้น ก็มีเสียงเชิดสิงโตจากคณะกายกรรมจีน และกลุ่มหนึ่ง
ที่ผมเองเชื่อว่า น่าจะเป็นกลุ่มสมาคมชนจีน เมืองมาลัง ที่มีการรวมตัว
ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับประเทศไทย โดยเฉพาะเวลาการจัดงานขึ้นปีใหม่จีน
เมื่อขบวนสมาคมจีน ที่สวมเครื่องแต่งกายแบบจีน เดินผ่านนั้น
ก็ได้รับความสนใจจากผู้ที่มาชม ทั้งชาวต่างชาติ และคนในเมืองมาลัง
ที่แห่มานั่งดูตามขอบถนน จนประมาณได้ว่าไม่มีที่นั่งให้ผมพักเหนื่อย ผมเองต้องยืนถ่าย
แต่อุปสรรคการถ่ายภาพคือ คนมากจนผมคิดว่า ภาพที่ผมถ่ายนั้น อาจไม่ชัดเจน
และกล้องถ่ายรูปที่ผมถ่ายนั้น ผมเองก็ถ่ายมาจากโทรศัพท์มือถือ อันที่จริงแล้วผมเอง
อยากกลับไปเอากล้องถ่ายรูป ที่หอพัก แต่บังเอิญคณะเชิดสิงโตผ่านมาพอดี
ทำให้ผมเองตัดสินใจที่จะเก็บภาพเท่าที่จะทำได้
กิจกรรมสำหรับการจัดงานขึ้นปีใหม่จีน ณ.ห้างสรรพสินค้ามาตอส
เมืองมาลัง ประเทศอินโดนีเซีย
การประกวดแฟชั่น การแต่งกายแบบจีน ซึ่งผมเองมาไม่ทัน
เพราะว่าต้องไปกินข้าว
การร้องเพลง
อื่นๆ
กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่ดีๆของไทยก็ไม่แพ้ต่างประเทศครับ
ตอบลบ